Author Archives: admin26

Fruit Tart

Fruit Tart
Lin Secret Recipe

เวลา
1 ชั่วโมง

เหมาะสำหรับ
3 คน

ระดับ
Hard

ส่วนผสม

• ข้าวโอ๊ตแบบรีด 1 ถ้วยครึ่ง (หรือธัญพืชกราโนลา)
• วอลนัทหั่น 1 ถ้วย
• งา 1 ช้อนโต๊ะ
• น้ำมันมะพร้าวละลาย 5 ช้อนโต๊ะ
• น้ำผึ้ง 1/4
• วนิลาสกัด 1 ช้อนชา
• อบเชย 1⁄2 ช้อนชา
• กรีกโยเกิร์ต / โยเกิร์ตมะพร้าว 2 ถ้วย หรือ โยเกิร์ตอัลมอนด์
• ผลไม้รวม 4 ถ้วยสำหรับทอปปิ้ง(สตอเบอร์รี่ , ราชเบอร์รี่ , บลูเบอร์รี่ , แอปเปิ้ล)

วิธีทำ

1.เปิดเตาอบที่ 325 องศาฟาเรนไฮต์
2.ผสมข้าวโอ๊ต ถั่ว เมล็ดพืช น้ำมันละลาย น้ำผึ้ง วนิลา และอบเชยรวมกันในชามจนทั่ว
3.กดส่วนผสมประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ลงในมินิจาระบี 8 อัน ในกระทะทาร์ต ใช้หลังช้อนทาน้ำมันช่วยกดกราโนลาให้ทั่วกระทะและด้านข้าง
4.อบในตะแกรงกลางเตาอบประมาณ 15 ถึง 17 นาทีหรือจนเป็นสีทอง
5.ทันทีหลังจากนำเปลือกทาร์ตออกจากเตาอบ ให้ใช้หลังช้อน กดตรงกลางเปลือกทาร์ต เพื่อให้เกิดรอยบุ๋มมากขึ้น และดันด้านข้างขึ้น เปลือกจะพองตัวในเตาอบ ดังนั้นจะช่วยปรับรูปร่างของเปลือกทาร์ตหลังจากอบในขณะที่ยังร้อนอยู่
6.ปล่อยให้เย็นสนิทในกระทะก่อนนำออก
7.ใช้มีดเล็กๆค่อยๆแกะเปลือกออกทีละด้าน นำออกจากกระทะอย่างระมัดระวัง
และพลิกกลับหากจำเป็น เปลือกควรกรอบที่ด้านข้างและจับตัวกัน
8.เติมโยเกิร์ต 3 ถึง 4 ช้อนโต๊ะในแต่ละทาร์ตแล้วเกลี่ยให้เรียบ
9.จัดผลไม้ไว้ด้านบนและเสิร์ฟทันที เปลือกจะแฉะหากทิ้งไว้นานเกินไป”

Fruit Tart

Fruit Tart
Lin Secret Recipe

เวลา
1 ชั่วโมง

เหมาะสำหรับ
3 คน

ระดับ
Hard

ส่วนผสม

• ข้าวโอ๊ตแบบรีด 1 ถ้วยครึ่ง (หรือธัญพืชกราโนลา)
• วอลนัทหั่น 1 ถ้วย
• งา 1 ช้อนโต๊ะ
• น้ำมันมะพร้าวละลาย 5 ช้อนโต๊ะ
• น้ำผึ้ง 1/4
• วนิลาสกัด 1 ช้อนชา
• อบเชย 1⁄2 ช้อนชา
• กรีกโยเกิร์ต / โยเกิร์ตมะพร้าว 2 ถ้วย หรือ โยเกิร์ตอัลมอนด์
• ผลไม้รวม 4 ถ้วยสำหรับทอปปิ้ง(สตอเบอร์รี่ , ราชเบอร์รี่ , บลูเบอร์รี่ , แอปเปิ้ล)

วิธีทำ

1.เปิดเตาอบที่ 325 องศาฟาเรนไฮต์
2.ผสมข้าวโอ๊ต ถั่ว เมล็ดพืช น้ำมันละลาย น้ำผึ้ง วนิลา และอบเชยรวมกันในชามจนทั่ว
3.กดส่วนผสมประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ลงในมินิจาระบี 8 อัน ในกระทะทาร์ต ใช้หลังช้อนทาน้ำมันช่วยกดกราโนลาให้ทั่วกระทะและด้านข้าง
4.อบในตะแกรงกลางเตาอบประมาณ 15 ถึง 17 นาทีหรือจนเป็นสีทอง
5.ทันทีหลังจากนำเปลือกทาร์ตออกจากเตาอบ ให้ใช้หลังช้อน กดตรงกลางเปลือกทาร์ต เพื่อให้เกิดรอยบุ๋มมากขึ้น และดันด้านข้างขึ้น เปลือกจะพองตัวในเตาอบ ดังนั้นจะช่วยปรับรูปร่างของเปลือกทาร์ตหลังจากอบในขณะที่ยังร้อนอยู่
6.ปล่อยให้เย็นสนิทในกระทะก่อนนำออก
7.ใช้มีดเล็กๆค่อยๆแกะเปลือกออกทีละด้าน นำออกจากกระทะอย่างระมัดระวัง
และพลิกกลับหากจำเป็น เปลือกควรกรอบที่ด้านข้างและจับตัวกัน
8.เติมโยเกิร์ต 3 ถึง 4 ช้อนโต๊ะในแต่ละทาร์ตแล้วเกลี่ยให้เรียบ
9.จัดผลไม้ไว้ด้านบนและเสิร์ฟทันที เปลือกจะแฉะหากทิ้งไว้นานเกินไป”

ครัวซองต์

ครัวซองต์ (Croissant)
Lin Sweet Story

ครัวซองต์ (Croissant) ขนมปังรูปพระจันทร์เสี้ยวที่กลายเป็นขนมสุดฮิตของคนทั่วโลก มักนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้าคู่กับกาแฟ นม แยม และแฮมชีส ปัจจุบันครัวซองต์มีสูตรต่าง ๆ มากมายให้เลือกซื้อตามความชอบ แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าจะเป็นขนมที่เราคุ้นเคยกันอย่างในทุกวันนี้ ครัวซองต์มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานหลายร้อยปีเลยทีเดียว

ประวัติ และตํานานครัวซองต์ ขนมที่เกิดขึ้นระหว่างสงคราม

ครัวซองต์ เป็นขนมปังในวัฒนธรรมตะวันตก ที่หลายคนอาจเข้าใจว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศฝรั่งเศส แต่จริงๆ แล้ว ประวัติครัวซองต์เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศออสเตรีย โดยดัดแปลงมาจากขนมพื้นเมืองที่เรียกว่า “คิปเฟล” (Kipferl) มีลักษณะเป็นขนมปังอบเนย ลักษณะคล้ายรูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งต้นกำเนิดของขนมปังชนิดนี้ ต้องย้อนกลับไปในปี 1683 สมัยที่กองทัพเติร์กยกทัพมาตีกรุงเวียนนาของออสเตรีย แต่ล้อมเมืองอยู่นานก็ยังไม่สามารถฝ่าวงล้อมเข้าเมืองได้

กองทัพเติร์กจึงวางแผนขุดอุโมงค์เพื่อจะบุกเข้าเมือง แต่ในค่ำคืนหนึ่งระหว่างที่ศัตรูกำลังเร่งขุดอุโมงค์ พ่อครัวชาวออสเตรียคนหนึ่งที่ลุกขึ้นมาอบขนมขณะที่ชาวเมืองนอนหลับ ก็สังเกตเห็นความผิดปกติ จะส่งสัญญาณให้ชาวเมืองรู้ข่าว ในที่สุดทางการก็สามารถขับไล่กองทัพเติร์กให้ถอยกลับไปได้ ทั้งเมืองจึงเฉลิมฉลองชัยชนะ ด้วยการทำขนมปังขึ้นมาชนิดหนึ่ง ซึ่งก็คือขนมคิปเฟลนั่นเอง

จนกระทั่งในปี 1770 เมื่อครั้งที่พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ เจ้าหญิงจากออสเตรียได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และย้ายมาพำนักอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระนางทรงคิดถึงบ้านเกิด จึงมีรับสั่งให้พ่อครัวชาวฝรั่งเศสในพระราชวังทำขนมคิปเฟลขึ้นมา ทว่าพ่อครัวได้ดัดแปลงในสไตล์ใหม่ กลายเป็นขนมปังที่เรียกว่า “ครัวซองต์” (Croissant) ซึ่งในภาษาฝรั่งเศส หมายถึง พระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นการเรียกชื่อตามรูปร่างของขนมนั่นเอง

ประวัติของขนมปังครัวซองต์ในฝรั่งเศส ไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้อย่างชัดเจน บ้างก็เชื่อว่ามีที่มาจากทหารชาวออสเตรียที่ชื่อว่า August Zang ซึ่งเดินทางมาเปิดร้านขนมอยู่ในกรุงปารีส และได้อบขนมคิปเฟลขาย จนเป็นที่เลื่องลือว่ามีรสชาติอร่อย ได้รับความนิยมจากชาวฝรั่งเศสผู้มีฐานะ เนื่องจากเป็นขนมจากต่างประเทศ จึงมีราคาแพง

ต่อมาทหารคนดังกล่าวกลับบ้านเกิด ทำให้พ่อครัวในกรุงปารีสเริ่มหัดทำขนมที่มีลักษณะคล้ายคิปเฟลมาขายในราคาที่ถูกลง ชาวเมืองสามารถหาซื้อได้ จนกระทั่งกลายมาเป็นขนมครัวซองต์อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน มีการดัดแปลงสูตร และใส่ส่วนผสมที่หลากหลาย ความนิยมจึงเผยแพร่ไปทั่วโลก นอกจากนี้ ทุกวันที่ 30 มกราคมของทุกปี ยังถูกกำหนดให้เป็น Croissant Day หรือ “วันครัวซองต์” อีกด้วย

เพรทเซล

LIN SWEET STORY “เพรทเซล”
Lin Sweet Story

“เพรทเซล” เป็นชื่อเรียกของขนมปังเค็มที่ทำจากแป้งมีปม บิด เป็นขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของความดี ที่บอกว่าเป็น สัญลักษณ์ของความดีนั้น ก็เพราะย้อนกลับไปเมื่ออดีตขนมเพรทเซลถือกำเนิดโดยนักบวชศาสนาคริสต์ชาวอิตาลีท่านหนึ่ง ที่เกิดอยากมอบรางวัลให้เด็ก ๆ ที่ทำความดีให้มีกำลังใจทำความดีต่อไป ขนมจึงมีลักษณะเหมือนกำลังสวดภาวนา โดยที่แขนของขนมทั้งสองข้าง ไขว้กันที่อก ซึ่งได้ตั้งชื่อว่า Pretiolas เป็นภาษาลาตินแปลว่า รางวัลแก่ความดีงาม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น Pretzel

ขนมเพรทเซลที่หอมเหลืองกรอบน่าทานนั้น เป็นสูตรที่คิดค้นขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยค่อย ๆ พัฒนาสูตรมาจากขนมแห่งความดีแบบเดิม และประเพณีฟรีเพรทเซลเดย์ ที่ผู้คนผ่านไปผ่านมาจะได้รับเพรทเซลไปทานแบบไม่อั้น เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงความดี

ขนมไดฟุกุ มีต้นกำเนิดอย่างไร

ขนมไดฟุกุ มีต้นกำเนิดอย่างไร
Lin Sweet Story

มีใครอยากรู้กันบ้างเอ่ย ! ว่าขนมไดฟุกุ มีต้นกำเนิดอย่างไร

มาจากขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า อุซึระโมจิ หรือ โมจินกกระทา จากประเทศญี่ปุ่น เพราะมีชิ้นใหญ่ ยาว และรูปร่างเหมือนนก

ในสมัยเอโดะที่เมืองโคะกาว่า ขนมโมจินกกระทาได้ถูกปั้นให้มีขนาดเล็กลง เพราะว่าไส้ทำจากถั่วแดงกวนผสมน้ำตาล ทำให้อิ่มเร็วและอยู่ท้อง เป็นโมจิเหนียวนำมาปั้นและใส่ไส้ขนมหวานได้ทั้งครีม ถั่วแดงกวนและไส้อื่น ๆ

ไดฟุกุ สัญลักษณ์แห่งความโชคดี! 
เพราะ ได แปลว่า ใหญ่ ฟุกุ แปลว่าโชคดี พอนำ 2 คำนี้มารวมกันจึงได้ความหมายที่เป็นสิริมงคลว่า โชคดีมาก ๆ จึงมักจะมอบให้เป็นของขวัญในเทศกาลสำคัญ

ไดฟุกุจึงเป็นขนมที่ได้รับความสนใจและความนิยมจากคนญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก และเริ่มรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นการอวยพรในเทศกาลมงคลต่าง ๆ

เตอร์กิช ดีไลท์ คือขนมหวานจากตุรกี

เตอร์กิช ดีไลท์ คือขนมหวานจากตุรกี
Lin Sweet Story

เตอร์กิช ดีไลท์ คือขนมหวานจากตุรกี

เป็นขนมที่รับประทานไปแล้ว ก็ชวนให้เริงร่าสมชื่อ ซึ่งคนท้องถิ่นในตุรกีเรียกกันว่าโลคุม (Lokum) เป็นขนมหวานทรงลูกเต๋าที่ประกอบขึ้นจากแป้งและน้ำตาล มักจะมีอัลมอนด์ ถั่วพิสทาชิโอ วอลนัท และแมคคาเดเมียผสมเข้าไปด้วย โดยส่วนมากหน้าตาจะมีสีชมพูเข้ม แต่ก็ดูจางลงไปทันทีเมื่อเสิร์ฟกับน้ำตาลไอซิ่งที่คลุกเคล้าประหนึ่งแป้งฝุ่น ทั้งตัวขนมที่ทำจากน้ำตาลเป็นหลัก แล้วไหนจะน้ำตาลไอซิ่งที่คลุกเข้ามาอีก รวมกันแล้วไม่ใช่แค่หวานจัด แต่หวานบาดจิตบาดใจเลยทีเดียว

เล่ากันว่าเตอร์กิช ดีไลท์เป็นผลิตผลจากความเสน่หาของสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมันที่ต้องการจะเอาใจภรรยาทั้งหลายของเขา สุลต่านจึงสั่งให้นักทำขนมผสมน้ำเชื่อมเข้ากับถั่วแบบต่าง ๆ และผลไม้แห้ง คนให้เข้ากับ mastic หรือยางไม้ของอาหรับ ซึ่งหลังจากการทดลองกับส่วนผสมหลายรูปแบบ นายฮาซิ เบอเกียร์ (Haci Bekir) เฮดเชฟของหวานประจำราชสำนักก็ได้รังสรรค์ขนมหวานสีชมพูได้เป็นผลสำเร็จ และกลายเป็นของหวานยอดฮิตภายในรั้ววัง ก่อนที่นายฮาซิจะนำสูตรขนมที่คิดค้นนี้ไปเปิดร้านของตัวเองกลางกรุงอิสตันบูล เมื่อปี ค.ศ.1777 และขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ปัจจุบันเตอร์กิช ดีไลท์ เป็นของฝากยอดนิยมของประเทศตุรกี แม้จะมีขายอยู่ทั่วเมือง แต่ไม่มีที่ไหนมากมายเท่ากับที่ตลาดเครื่องเทศ หรือ Spice Bazaar ตลาดในร่มที่ใหญ่เป็นรองแค่ Grand Bazaar กลางกรุงอิสตัลบูล ร้านขายเตอร์กิช ดีไลท์ มีหลายรูปแบบมาก บ้างก็วางขายง่าย ๆ แบบชั่งกิโลฯ โดยใส่ถาดกองอยู่หน้าร้าน บ้างก็ขายพร้อมแพคเกจสวย เหมาะสำหรับซื้อเป็นของขวัญหรือของฝาก

ประวัติที่มาของ โดรายากิ Dorayaki

ประวัติที่มาของ โดรายากิ Dorayaki
Lin Sweet Story

ประวัติที่มาของ โดรายากิ Dorayaki

โดรายากิ คือขนมหวานขึ้นชื่อของญี่ปุ่น ของโปรดของเจ้าแมวสีฟ้าขวัญใจชาวการ์ตูนทั่วโลกอย่างโดราเอมอน

ในยุคแรกเริ่มเป็นขนมแป้งย่างแผ่นบาง กลมๆ ที่เวลาจะเราจะรับประทานต้องพับเป็นครึ่ง แต่ปัจจุบันทำมาจากแป้งสาลีที่ผสมกับเนย ไข่ และนมสด คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นให้ไปทอดเป็นแผ่นคล้ายแพนเค้ก กลม ๆ ขนาดพอเหมาะ และเมื่อมีสีเหลืองสุกได้ที่แล้วจึงนำแป้งทั้งสองแผ่นมาประกบกัน โดยใส่ไส้ถั่วแดงกวนไว้ตรงกลาง

ในประเทศญี่ปุ่นมีหนึ่งวันที่เป็นวันแห่งโดรายากิ ซึ่งก็คือวันที่ 4 เมษายน ของทุกปีถูกเรียกว่า วันแห่งโดรายากิ (Dorayaki no Hi) ซึ่งวันนี้ในแถบเกียวโต ตามร้านค้าต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการขายขนมโดรายากิเป็นพิเศษ เหตุเพราะที่ญี่ปุ่น เลข 4 (Shi) ที่นำไปเล่นคำในภาษาญี่ปุ่นว่า shiawase ที่แปลว่า ความสุขและความโชคดี คล้องกับขนมโดรายากิที่เป็นที่รักและให้ความสุขกับทุกคนเสมอ

The History of Dorayaki

The History of Dorayaki
Lin Sweet Story

The History of Dorayaki

Japan

Dorayaki originated in Japan and there is one day that is day of Dorayaki which is April 4th every year and called. Dorayaki Day

Dorayaki

In the early days, it was a round, thin, round-roasted dough that we had to fold in half when eating. But nowadays, it is made from wheat flour mixed with butter, eggs, and fresh milk mixed together. Then, put it into a frying pan. It’s a sheet like a round pancake.

Doraemon

Dorayaki is a famous Japanese sweet and one of the famous characters who prefer to eat dorayaki a lot is Doraemon.

วันนี้จะมาเล่าเรื่องราวของ “บัวลอยน้ำขิง” ว่ามีที่มาจากไหน

LIN SWEET STORY “บัวลอยน้ำขิง” 
Lin Sweet Story

วันนี้จะมาเล่าเรื่องราวของ “บัวลอยน้ำขิง” ว่ามีที่มาจากไหน

บังลอยน้ำขิงนั้นเดิมทีมีชื่อภาษาจีนว่ายฺเหวียนเซียว หรือ ทังยฺเหวียน เป็นขนมหวานที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำ แล้วนำไปปั้นเป็นลูกกลม ๆ จากนั้นนำไปต้มแล้วเสิร์ฟในน้ำร้อน น้ำร้อนที่นิยมรับประทานได้แก่ น้ำขิง ลูกยฺเหวียนเซียวมีหลายขนาด ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้รับประทาน อาจสอดไส้หรือไม่สอดไส้ก็ได้ ไส้ที่นิยมรับประทานได้แก่ ไส้งาดำ ส่วนมากจะนิยมรับประทานในช่วงเทศกาลโคมไฟ หรือเทศกาลอื่น ๆ

Yuan xiao or “Bualoy Nam King”

Yuan xiao or “Bualoy Nam King” 
Lin Sweet Story

Yuan xiao or “Bualoy Nam King”

Glutinous Rice Balls in Sweet Ginger Soup

It is called yuánxiāo or tāngyuán in Chinese. It is made from glutinous rice flour mixed with water and then molded into a ball. Then bring to a boil and serve in hot water. Hot water that is popular to eat is ginger juice. The filling that is popular to eat is black sesame filling.

China
It is a sweet that originated in China. Popular to eat during the Lantern Festival or other festivals.